สรรพากร ออกคู่มือการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คริปโทเคอร์เรนซี-โทเคนดิจิทัล

เศรษฐกิจ (ในประเทศ - ต่างประเทศ)

 

กรมสรรพากร ออกคำแนะนำการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คริปโทเคอร์เรนซี และ โทเคนดิจิทัล โดยระบุว่า การประกอบธุรกิจและการลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา วิวัฒนาการเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และรูปแบบการทำธุรกรรมต่าง ๆ มีความหลากหลายและปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วตลอดเวลา การ ทำความเข้าใจรูปแบบทางธุรกิจจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน รวมถึง ประชาชน การเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและการทำให้เกิดการสื่อสารที่ตรงกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ

กรมสรรพากรจึงได้ยึดแนวทาง “ทำให้ชัด ผ่อนปรน มองอนาคต” คู่มือนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำให้ชัด โดยจะมีเนื้อหา ครอบคลุม

1. การจัดประเภทเงินได้ให้ชัดเจน โดยระบุประเภทเงินได้และผลประโยชน์ให้ครอบคลุมกำไร/รายได้จากการโอน/ ผลประโยชน์อื่นใดจากคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล

2. การคำนวณต้นทุนใช้วิธีมาตรฐานการบัญชีรับรอง โดยสามารถทำได้ 2 วิธี คือ วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) หรือ วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Cost) โดยสามารถเปลี่ยนวิธีคำนวณในปีถัดไปได้

3. การวัดมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล เวลาที่ได้มา หรือราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มา เพื่อให้ผู้เสียภาษีเกิด ความเข้าใจและสามารถนำไปใช้เป็นคู่มือประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภ.ง.ด.90/91 เท่านั้น คู่มือนี้ จึงมิได้ครอบคลุมประเด็นภาษีอื่น ๆ เช่น ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น

*คุณควรอ่านคำแนะนำฉบับนี้ ถ้าคุณมี

1. การจำหน่าย จ่าย โอน หรือแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล

2. การขุดคริปโทเคอร์เรนซี

3. การได้รับคริปโทเคอร์เรนซีเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง

4. การได้รับคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลจากการให้ หรือได้รับเป็นรางวัล

5. ได้รับผลประโยชน์หรือผลตอบแทนจากการถือครอง

5.1 โทเคนดิจิทัล

5.2 คริปโทเคอร์เรนซี

นิยาม “คริปโทเคอร์เรนซี” หมายความว่า หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่าย อิเล็กทรอนิกส์ โดยมีความประสงค์ที่จะใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าบริการ หรือสิทธิอื่นใด หรือแลกเปลี่ยน ระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัล และให้หมายความรวมถึงหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด

“โทเคนดิจิทัล” หมายความว่า หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบ หรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุ ประสงค์เพื่อ

1. กำหนดสิทธิของบุคคลในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใด ๆ

2. กำหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อตกลงระหว่างผู้ ออกและผู้ถือ และให้หมายความรวมถึงหน่วยแสดงสิทธิอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.ประกาศกำหนด

*คุณคำนวณเงินได้เพื่อยื่นแบบฯ อย่างไร

1. การจำหน่าย จ่าย โอน หรือแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล

– การจำหน่าย จ่าย โอน หรือแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลให้แก่บุคคลอื่น เฉพาะซึ่งตีราคาเป็น
เงินได้เกินกว่าที่ลงทุนถือเป็นเงินได้ มาตรา 40(4)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร

– การคำนวณต้นทุนคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลประเภทเดียวกัน ให้ใช้วิธีที่มาตรฐานการบัญชีรับรอง เช่น วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) หรือวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving average cost) และให้คำนวณต้นทุนแยกตามประเภทของเหรียญ

ก. วิธีเข้าก่อนออกก่อน The first-in first-out (FIFO) คือ การคำนวณต้นทุนคริปโทเคอร์เรนซี/โท เคนดิจิทัล โดยคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลที่ซื้อมาก่อนจะขายออกไปก่อนตามลำดับ จึงเป็นผลให้รายการคริปโทเคอร์เรนซี/โท เคนดิจิทัลที่เหลืออยู่ ณ วันสุดท้ายเป็นคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลที่ซื้อมาครั้งหลังสุด

ข. วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ The moving average cost คือ การคำนวณต้นทุนคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคน ดิจิทัล แต่ละประเภทจะกำหนดจากการถัวเฉลี่ยต้นทุนของคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลประเภทเดียวกัน ณ วันต้นปีกับต้นทุนของ คริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลที่ซื้อมาในระหว่างปี ซึ่งคำนวณทุกครั้งที่ซื้อคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล

– ผู้มีเงินได้สามารถเลือกวิธีคำนวณต้นทุนใดก็ได้ เมื่อเลือกวิธีการคำนวณต้นทุนวิธีใดแล้วต้องใช้วิธีนั้นตลอดปีภาษี

– ต้นทุนให้รวมถึงค่าซื้อและค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าโอนเป็นต้น

– การวัดมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลทั้งการคำนวณต้นทุนและรายได้ ให้ใช้มูลค่า ณ เวลาที่ได้มาหรือราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มา ซึ่งเป็นราคาอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น ราคาที่ประกาศโดย Exchange ที่จัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น

– กรณีที่มีผลขาดทุนไม่ว่าจะเกิดจากคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลประเภทใด ๆ ที่เกิดขึ้นในปีเดียวกันสามารถนำมาหักกลบกับกำไรที่เกิดจากคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลประเภทใดก็ได้ ทั้งนี้เฉพาะธุรกรรมที่กระทำผ่านผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น

– มูลค่าต้นทุนของคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลที่คงเหลือ ณ วันสิ้นปี เป็นการถือคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลไว้โดยไม่มีการจำหน่าย จ่าย โอน แลกเปลี่ยน จึงยังไม่ถือว่ามีเงินได้พึงประเมินแต่อย่างใด และให้ถือมูลค่านี้เป็นต้นทุนที่ต้องยกไปสำหรับปีภาษีถัดไปด้วย

– ในระหว่างปีภาษี หากผู้มีเงินได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ สามารถนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายมาใช้เป็นเครดิตภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ได้

กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 (ผ่านอินเทอร์เน็ต) ให้แสดงเงินได้ในรายการรายได้ จากการลงทุนประเภท ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล

กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 (กระดาษ) ให้แสดงกำไรจากการจำหน่าย จ่ายโอน หรือแลกเปลี่ยน คริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลในช่องเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) ประเภท อื่น ๆ

2. การขุดคริปโทเคอร์เรนซี

– ณ วันที่ได้รับคริปโทเคอร์เรนซีจากการขุด ยังไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน

– เมื่อมีการจำหน่าย จ่าย โอน หรือแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีที่ขุดมาได้ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามความจำเป็นและสมควร แต่ผู้ขุดต้องเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องและจัดทำบัญชีต้นทุน เช่น ค่าซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ ค่าจ้างพนักงาน ค่านายหน้า ค่าไฟฟ้า ค่าอินเทอร์เน็ต ที่เกิดขึ้นจริงในปีภาษี เป็นต้น รวมถึงค่าใช้จ่ายที่มีลักษณะเป็นการลงทุนในทรัพย์สิน เช่น คอมพิวเตอร์ โดยทยอยหักค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับ
ที่ 11)พ.ศ. 2502 มาตรา 8ทวิ สามารถดูตัวอย่างการพิจารณาตามข้อหารือภาษีอากร เลขที่หนังสือ กค 0706/47 ลงวันที่ 3 ม.ค.2551

– การคำนวณต้นทุนคริปโทเคอร์เรนซีประเภทเดียวกัน ให้ใช้วิธีที่มาตรฐานการบัญชีรับรอง เช่น วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) หรือวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving average cost) และให้คำนวณต้นทุนแยกตามประเภทของเหรียญ

ก. วิธีเข้าก่อนออกก่อน The first-in first-out (FIFO) คือ การคำนวณต้นทุนคริปโทเคอร์เรนซี โดยริ ปโทเคอร์เรนซีที่ได้รับจากการขุดก่อนจะขายออกไปก่อนตามลำดับ จึงเป็นผลให้รายการคริปโทเคอร์เรนซีที่เหลืออยู่ณ วันสุดท้ายเป็น คริปโทเคอร์เรนซีที่ได้รับจากการขุดมาครั้งหลังสุด

ข. วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ The moving average cost คือ การคำนวณต้นทุนคริปโทเคอร์เรนซีแต่ละ ประเภทจะกำหนดจากการถัวเฉลี่ยต้นทุนของคริปโทเคอร์เรนซีประเภทเดียวกัน ณ วันต้นปีกับต้นทุนของคริปโทเคอร์เรนซีที่ได้รับจาก การขุดในระหว่างปี

– ผู้มีเงินได้สามารถเลือกวิธีคำนวณต้นทุนใดก็ได้ เมื่อเลือกวิธีการคำนวณต้นทุนวิธีใดแล้วต้องใช้วิธีนั้นตลอดปีภาษี

– การวัดมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซีทั้งการคำนวณต้นทุนและรายได้ ให้ใช้มูลค่า ณ เวลาที่ได้มา หรือราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มา ซึ่งเป็นราคาอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น ราคาที่ประกาศโดย Exchange ที่จัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น

หมายเหตุ สำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมิน 40(2) – (8) รวมกันตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป ให้พิจารณาเปรียบเทียบ ระหว่างภาษีที่คำนวณด้วยวิธีเงินได้สุทธิคูณด้วยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แล้วจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึง ประเมิน อ้างอิงตามมาตรา48(2) แห่งประมวลรัษฎากร

– กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 (ผ่านอินเทอร์เน็ต) ให้แสดงรายได้จากการขายคริปโทเคอร์เรนซีที่ขุดได้ในรายการรายได้จากทรัพย์สิน การทำธุรกิจ ประเภทเงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง และเงินได้อื่น ๆ (มาตรา 40(8)) > ประเภทธุรกิจ :เงินได้อื่น ๆ > โปรดระบุ : รายได้จากการขายคริปโทเคอร์เรนซีที่ขุดได้

3.ได้รับคริปโทเคอร์เรนซีเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง

– การวัดมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซีทั้งการคำนวณต้นทุนและรายได้ ให้ใช้มูลค่า ณ เวลาที่ได้มา หรือ ราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มา ซึ่งเป็นราคาอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น ราคาที่ประกาศโดย Exchange ที่จัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และให้เลือกใช้วิธีนั้นตลอดปีภาษี
กรณีได้รับเหรียญคริปโทเคอร์เรนซีเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง เมื่อนำมูลค่าที่ได้รับไปเสียภาษีแล้ว จะสามารถนำมาใช้เป็นต้นทุนในการคำนวณภาษีเมื่อจำหน่ายออกไปจริงได้

– ในระหว่างปีภาษี หากผู้มีเงินได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ สามารถนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายมาใช้เป็นเครดิตภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 ได้

– กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 (ผ่านอินเทอร์เน็ต) ให้แสดงรายได้จากเงิน
เดือนตามสัญญาจ้างแรงงาน (มาตรา 40(1)) หรือรายได้จากรับจ้างทั่วไป (มาตรา 40(2))

– กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.91 (กระดาษ) ให้แสดงเงินได้พึงประเมินตาม
มาตรา 40(1)17

– กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.91 (กระดาษ) ให้แสดงเงินได้พึงประเมินตาม
มาตรา 40(1)

– กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 (กระดาษ) ให้แสดงเงินได้พึงประเมินตาม
มาตรา 40(2)

4. ได้รับคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลจากการให้ หรือได้รับเป็นรางวัล

– ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การ
อุตสาหกรรมการขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว

– ตัวอย่างเช่นได้รับแจกเมื่อเข้าร่วมกิจกรรม หรือได้รับเป็นรางวัลส่งเสริมการขาย เป็นต้น

– การวัดมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลทั้งการคำนวณต้นทุนและรายได้ ให้ใช้มูลค่า ณ เวลาที่ได้มาหรือราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มา ซึ่งเป็นราคาอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น ราคาที่ประกาศโดย Exchange ที่จัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และให้เลือกใช้วิธีนั้นตลอดปีภาษี

– กรณีได้รับเหรียญคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลมา เมื่อนำมูลค่าที่ได้รับไปเสียภาษีแล้ว จะสามารถนำมาใช้เป็นต้นทุนในการคำนวณภาษีเมื่อจำหน่ายออกไปจริงได้
กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 (ผ่านอินเทอร์เน็ต) ให้แสดงรายการรายได้จาก
ทรัพย์สิน การทำธุรกิจ ประเภทเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งและเงินได้อื่น ๆ (มาตรา40(8)) > ประเภทธุรกิจ : เงินได้อื่น ๆ > โปรดระบุ : ได้รับคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลจากการให้ หรือได้รับเป็นรางวัล

– กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 (กระดาษ) ให้แสดงเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) ประเภท อื่นๆ

หมายเหตุ สำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมิน 40(2) ? (8) รวมกันตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป ให้พิจารณาเปรียบเทียบ ระหว่างภาษีที่คำนวณด้วยวิธีเงินได้สุทธิคูณด้วยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แล้วจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึง ประเมิน อ้างอิงตามมาตรา 48(2) แห่งประมวลรัษฎากร

5. ได้รับผลประโยชน์หรือผลตอบแทนจากการถือครอง

5.1 โทเคนดิจิทัล

– ตัวอย่างเช่น Yield farming หรือ Staking เป็นต้น

– ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร เงินส่วนแบ่งกำไร หรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล

– การวัดมูลค่าโทเคนดิจิทัลทั้งการคำนวณต้นทุนและรายได้ ให้ใช้มูลค่า ณ เวลาที่ได้มา หรือราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มา ซึ่งเป็นราคาอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น ราคาที่ประกาศโดย Exchange ที่จัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และให้เลือกใช้วิธีนั้นตลอดปีภาษี
กรณีได้รับโทเคนดิจิทัลและนำมูลค่าโทเคนดิจิทัลที่ได้รับไปเสียภาษีแล้ว จะสามารถนำมาใช้เป็นต้นทุนในการคำนวณภาษีเมื่อจำหน่ายออกไปได้

– กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 (ผ่านอินเทอร์เน็ต) ให้แสดงผลประโยชน์หรือผลตอบแทนในรายการรายได้จากการลงทุนประเภท เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล

– กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 (กระดาษ) ให้แสดงเงินได้พึงประเมินตาม
มาตรา 40(4) ประเภท อื่นๆ

5.2 คริปโทเคอร์เรนซี

– ตัวอย่างเช่น Yield farming หรือ Staking เป็นต้น

– ผลประโยชน์หรือผลตอบแทนจากการถือครองคริปโทเคอร์เรนซี ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวล
รัษฎากร เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว

– การวัดมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซีทั้งการคำนวณต้นทุนและรายได้ ให้ใช้มูลค่า ณ เวลาที่ได้มา หรือราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มา ซึ่งเป็นราคาอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น ราคาที่ประกาศโดย Exchange ที่จัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และให้เลือกใช้วิธีนั้นตลอดปีภาษี
กรณีได้รับคริปโทเคอร์เรนซีและนำมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซีที่ได้รับไปเสียภาษีแล้ว จะสามารถนำมาใช้เป็นต้นทุนในการคำนวณภาษีเมื่อจำหน่ายออกไปได้

– กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 (กระดาษ) ให้แสดงเงินได้พึงประเมินตาม
มาตรา 40(8) ประเภท อื่นๆ

– กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 (ผ่านอินเทอร์เน็ต) ให้แสดงรายการรายได้จาก
ทรัพย์สิน การทำธุรกิจ ประเภทเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งและเงินได้อื่นๆ (มาตรา 40 (8)) > ประเภทธุรกิจ : เงินได้อื่น ๆ > โปรดระบุ : ผลตอบแทนจากการนำคริปโทเคอร์เรนซีไปแสวงหาประโยชน์

หมายเหตุ สำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมิน 40(2) – (8) รวมกันตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป ให้พิจารณาเปรียบเทียบ ระหว่างภาษีที่คำนวณด้วยวิธีเงินได้สุทธิคูณด้วยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แล้วจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึง ประเมิน อ้างอิงตามมาตรา 48(2) แห่งประมวลรัษฎากร

อ้างอิง
https://m.mgronline.com/stockmarket